


ปฎิทินวัฒนธรรม
งานสมโภชหลักเมืองยะลา จังหวัดยะลา
จำนวนผู้ชม 400 ครั้ง

๒๕
พ.ค. ๖๖
o๕
มิ.ย. ๖๖

๒๕
พ.ค. ๖๖
o๕
มิ.ย. ๖๖

๒๕
พ.ค. ๖๖
o๕
มิ.ย. ๖๖

๒๕
พ.ค. ๖๖
o๕
มิ.ย. ๖๖

๒๕
พ.ค. ๖๖
o๕
มิ.ย. ๖๖





งานสมโภชหลักเมืองยะลาเดิมจังหวัดยะลาเป็นอาณาเขตหนึ่งในบริเวณ ๗ หัวเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เมื่อแยกออกเป็นเมืองหนึ่งต่างหาก ในสมัยรัตนโกสินทร์ (ในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๓) มีเจ้าเมืองปกครองนับตั้งแต่แยกเป็นจังหวัดมาจนกระทั่งปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๐๕) รวม ๓๑ คน จากการดำริของ พ.ต.อ. (พิเศษ) ศิริ คชหิรัญ ครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ร่วมในกันก่อสร้างหลักเมืองขึ้นที่บริเวณศูนย์วงเวียน หน้าศาลากลางจังหวัด โดยเริ่มวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. โดยกรมป่าไม้เป็นผู้จัดหาไม้ชัยพฤกษ์ จากป่าเมืองกาญจนบุรี
เสาหลักเมืองมีลักษณะเป็นแท่งกลม ต้นเสาวัดโดยรอบได้ ๑๐๕ เซนติเมตร ปลายเสา ๔๘ เซนติเมตร สูง ๑.๒๕ เมตร มีเทพารักษณ์จากกาญจนบุรีมาประจำอยู่วางบนฐานกลม แกะสลักลวดลายแบบไทย ลงรักษ์ปิดทองรอบฐานชั้นบนและกลาง แกะสลักเป็นรูปนักรบโบราณถือโล่และดาบ กล่าวกันว่าเป็นวิญญาณแม่ทัพคนหนึ่งของพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองและพระราชทานแก่ พ.ต.อ. (พิเศษ) ศิริ คชหิรัญ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และได้ฤกษ์ประกอบพิธีฝังเสาและปักยอดหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๒.๑๑ น.
ยอดเสาหลักเมืองแกะเป็นรูปพระพรหมมี ๔ หน้า อันเป็นหลักแห่งความเมตตา กรุณ มุทิตา และอุเบกขา ส่วนศาลหลักเมืองก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตบแต่งด้วยหินขัดทั้งหลังเป็นรูปจัตุรมุข หันหน้าไปตามทิศทั้ง ๔ มีบันได้ขึ้นทั้ง ๔ ทิศ รูปลักษณ์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สอบสอง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสลับสี ตัวศาลากว้าง ๖.๐๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร มีถนนทางเข้า ๔ ทิศ รอบ ๆ ตัวศาลมีสระน้ำและปลูกไม้ประดับพันธุ์ไม้ไทย
หลังจากพิธีกรรมในการฝังหลักเมืองผ่านพ้นไปแล้ว ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองสมโภช ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันที่ ๒๕-๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และได้ยึดถือเป็นงานสมโภชประจำปีทุกปีตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สำหรับปี ๒๕๖๕ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม - ๔ มิถุนายน ๒๕๖๖
แหล่งอ้างอิง:
เสาหลักเมืองมีลักษณะเป็นแท่งกลม ต้นเสาวัดโดยรอบได้ ๑๐๕ เซนติเมตร ปลายเสา ๔๘ เซนติเมตร สูง ๑.๒๕ เมตร มีเทพารักษณ์จากกาญจนบุรีมาประจำอยู่วางบนฐานกลม แกะสลักลวดลายแบบไทย ลงรักษ์ปิดทองรอบฐานชั้นบนและกลาง แกะสลักเป็นรูปนักรบโบราณถือโล่และดาบ กล่าวกันว่าเป็นวิญญาณแม่ทัพคนหนึ่งของพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมยอดเสาหลักเมืองและพระราชทานแก่ พ.ต.อ. (พิเศษ) ศิริ คชหิรัญ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และได้ฤกษ์ประกอบพิธีฝังเสาและปักยอดหลักเมืองเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๒.๑๑ น.
ยอดเสาหลักเมืองแกะเป็นรูปพระพรหมมี ๔ หน้า อันเป็นหลักแห่งความเมตตา กรุณ มุทิตา และอุเบกขา ส่วนศาลหลักเมืองก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตบแต่งด้วยหินขัดทั้งหลังเป็นรูปจัตุรมุข หันหน้าไปตามทิศทั้ง ๔ มีบันได้ขึ้นทั้ง ๔ ทิศ รูปลักษณ์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สอบสอง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสลับสี ตัวศาลากว้าง ๖.๐๐ เมตร สูง ๖.๕๐ เมตร มีถนนทางเข้า ๔ ทิศ รอบ ๆ ตัวศาลมีสระน้ำและปลูกไม้ประดับพันธุ์ไม้ไทย
หลังจากพิธีกรรมในการฝังหลักเมืองผ่านพ้นไปแล้ว ได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองสมโภช ๗ วัน ๗ คืน ตั้งแต่วันที่ ๒๕-๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และได้ยึดถือเป็นงานสมโภชประจำปีทุกปีตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สำหรับปี ๒๕๖๕ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ ๒๕ พฤษภาคม - ๔ มิถุนายน ๒๕๖๖
