


ปฎิทินวัฒนธรรม
เทศกาลประเพณีประจำปีปิดทองหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี
จำนวนผู้ชม 1,689 ครั้ง

๒๔
พ.ค. ๖๔
o๑
มิ.ย. ๖๔

๒๔
พ.ค. ๖๔
o๑
มิ.ย. ๖๔

๒๔
พ.ค. ๖๔
o๑
มิ.ย. ๖๔

๒๔
พ.ค. ๖๔
o๑
มิ.ย. ๖๔

๒๔
พ.ค. ๖๔
o๑
มิ.ย. ๖๔





จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอเชิญร่วมประเพณีเทศกาลประจำปีปิดทองหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่อในกุฏิ ชาวอำเภอกุยบุรีจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดงานประเพณีปิดทองหลวงพ่อในกุฏิขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี ๒๕๖๔ นี้ จะจัดขึ้น
ระหว่างวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๔ (ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖) ถึงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๖)
ในวันเปิดงานจะมีขบวนแห่อัญเชิญหลวงพ่อในกุฏิ เพื่อให้ชาวบ้านกราบนมัสการบูชา พร้อมเครื่องสักการะ ขบวนพุ่มเงิน พุ่มทอง บายศรีพร้อมเครื่องบริวาร และขบวนชุดการแสดงจาก
ทุกตำบลในเขตพื้นที่อำเภอกุยบุรี อาทิ ชุดการแสดงเรือบกของตำบลหาดขาม ชุดการแสดงรำกะลาของตำบลดอนยายหนู ชุดการแสดงไสเคยของตำบลเขาแดง และชุดการแสดงกลองยาว พร้อมทั้งเหล่าพ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่แต่งกายด้วยชุดไทยย้อนยุค
โดยขบวนแห่จะเริ่มลานหน้าสถานีรถไฟกุยบุรี ผ่านแหล่งชุมชนในตลาดกุยบุรี สิ้นสุดที่วัดกุยบุรี ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
ทั้งนี้ในแต่ละคืนของการจัดงานจะมีพิธีบวงสรวงและตีคลีถวายหลวงพ่อในกุฏิ การแสดงศิลปวัฒนธรรมของแต่ละตำบล การแข่งขันวอลเลย์บอล การออกร้านจำหน่ายสินค้า
การแสดงดนตรี เครื่องเล่นมหาสนุก พร้อมทั้งให้ประชาชนได้ร่วมกันสักการะบูชาปิดทองหลวงพ่อในกุฏิด้วย
แหล่งอ้างอิง:
วัดกุยบุรี
ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงพ่อในกุฏิ ชาวอำเภอกุยบุรีจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดงานประเพณีปิดทองหลวงพ่อในกุฏิขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี ๒๕๖๔ นี้ จะจัดขึ้น
ระหว่างวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๔ (ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖) ถึงวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (แรม ๖ ค่ำ เดือน ๖)
ในวันเปิดงานจะมีขบวนแห่อัญเชิญหลวงพ่อในกุฏิ เพื่อให้ชาวบ้านกราบนมัสการบูชา พร้อมเครื่องสักการะ ขบวนพุ่มเงิน พุ่มทอง บายศรีพร้อมเครื่องบริวาร และขบวนชุดการแสดงจาก
ทุกตำบลในเขตพื้นที่อำเภอกุยบุรี อาทิ ชุดการแสดงเรือบกของตำบลหาดขาม ชุดการแสดงรำกะลาของตำบลดอนยายหนู ชุดการแสดงไสเคยของตำบลเขาแดง และชุดการแสดงกลองยาว พร้อมทั้งเหล่าพ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่แต่งกายด้วยชุดไทยย้อนยุค
โดยขบวนแห่จะเริ่มลานหน้าสถานีรถไฟกุยบุรี ผ่านแหล่งชุมชนในตลาดกุยบุรี สิ้นสุดที่วัดกุยบุรี ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
ทั้งนี้ในแต่ละคืนของการจัดงานจะมีพิธีบวงสรวงและตีคลีถวายหลวงพ่อในกุฏิ การแสดงศิลปวัฒนธรรมของแต่ละตำบล การแข่งขันวอลเลย์บอล การออกร้านจำหน่ายสินค้า
การแสดงดนตรี เครื่องเล่นมหาสนุก พร้อมทั้งให้ประชาชนได้ร่วมกันสักการะบูชาปิดทองหลวงพ่อในกุฏิด้วย
