


ปฎิทินวัฒนธรรม
ประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
จำนวนผู้ชม 3,826 ครั้ง

๒๒
ม.ค. ๖๖
๒๒
มี.ค. ๖๖

๒๒
ม.ค. ๖๖
๒๒
มี.ค. ๖๖

๒๒
ม.ค. ๖๖
๒๒
มี.ค. ๖๖



จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๓ ไปจนถึงขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ งานนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง เขาคิชฌกูฏ จันทบุรี ถือเป็นประเพณี อันศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานหลายสิบปี โดยมีความเชื่อว่าการเดินป่า ขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ จะได้บุญสูง และยังช่วยฝึกจิตใจฝึกความมานะอดทนไม่ย่อท้อ ต่อความยากลำบาก ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสสักครั้งที่จะได้ขึ้นเขามานมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ และการได้มากราบไหว้ ขอพรรอยพระพุทธบาท เหมือนได้เข้าเฝ้าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสร้างความสุขแก่ครอบครัวและชีวิต จะเริ่มเปิดให้พุทธศาสนิกชน นักแสวงบุญ นักท่องเที่ยว ได้ขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนเขาคิชฌกูฏ ยอด "เขาคิชฌกูฏ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เขาคิชฌกูฏ ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาท ที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทยสูงกว่า ๑,๐๕๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุด ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท" มีลักษณะเป็นรอยบนหิน แผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ ๒ เมตรเศษ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๒ เมตร ค้นพบที่ ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว ๔ กม.
ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขา ล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริ ของพระครูธรรมสรคุณ(ท่านพ่อเขียน) ซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า "เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหน ตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคล แก่ผู้นั้นตลอดไป"
แหล่งอ้างอิง:
ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขา ล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริ ของพระครูธรรมสรคุณ(ท่านพ่อเขียน) ซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการ รอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า "เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหน ตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคล แก่ผู้นั้นตลอดไป"
