ปฎิทินวัฒนธรรม

ประเพณีปอ๊อกเปรี๊ยะแค (พิธีไหว้พระจันทร์)

จำนวนผู้ชม 1,144 ครั้ง
      ประเพณีปะอ๊อกเปรียะแคร์หรือไหว้พระจันทร์ ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นพิธีกรรมที่ชาวเขมรโบราณทำเพื่อทำนายฝน. เพื่อจะได้วางแผน การทำนาในฤดูถัดไป ในพิธีกรรมจะมีพิธีทางศาสนาคือสวดมนต์ บูชาพระจันทร์นั่นก็คือสวดจันทรปริตร ๑๒ จบ โดยในช่วงที่พระสงฆ์สวดจันทรปริตรชาวบ้านก็จะนำข้าวเม่ามาตักบาตรอาบแสงจันทร์ (ซึ่ง)ช่วงเวลาที่พระจันทร์ตรงศีรษะพอดี การปะอ๊อกเปรียะแคร์ ปะอ๊อกภาษาเขมรหมายถึงกรอก เปรียะแคหมายถึงพระจันทร์ ซึ่งหลังจากที่พระสงฆ์สวดจบ ก็จะมีการอุปโลกน์บุคคล เป็นตาพรม ที่อยู่บนสรวงสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อโปรดมนุษย์โลก มาทำพิธีทำนายฝนโดยการ จุดเทียน ๑๒ เล่มบนไม้คาน และคว่ำเทียนลงดูน้ำตาเทียนหยดเทียนทั้ง ๑๒ เล่มนั้นหมายถึงเดือนทั้ง ๑๒ เดือนใน ๑ ปีชาวนาก็จะใช้ข้อมูลจากการประกอบพิธีกรรมนี้ไปใช้ในการลงนาในปีต่อไป
แหล่งอ้างอิง:
Add to Calendar

กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง