


ปฎิทินวัฒนธรรม
ประเพณีกำฟ้า
จำนวนผู้ชม 100 ครั้ง

๑๑
ก.พ. ๖๗
๑๒
ก.พ. ๖๗

๑๑
ก.พ. ๖๗
๑๒
ก.พ. ๖๗

๑๑
ก.พ. ๖๗
๑๒
ก.พ. ๖๗
๑๑
ก.พ. ๖๗
๑๒
ก.พ. ๖๗
๑๑
ก.พ. ๖๗
๑๒
ก.พ. ๖๗



ขอเชิญเที่ยวงานประเพณีกำฟ้า ไทยพวน ณ วัดกุฎีทอง วัดอุตมพิชัย วัดโภคาภิวัฒน์ ตำบลบางน้ำเชี่ยว อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2567
ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ที่บ้านบางน้ำเชี่ยวและบ้านดอนคา จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓เป็นวันสุกดิบ โดยชาวบ้านจะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้นส่วนพิธีจะมีในตอนเย็น ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียว,ไข่,น้ำตาล ไปเข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึงเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียมไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลองถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้า เป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า
แหล่งอ้างอิง:
ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ที่บ้านบางน้ำเชี่ยวและบ้านดอนคา จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓เป็นวันสุกดิบ โดยชาวบ้านจะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้นส่วนพิธีจะมีในตอนเย็น ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียว,ไข่,น้ำตาล ไปเข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึงเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียมไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลองถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้า เป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า
