


ปฎิทินวัฒนธรรม
พิธีฉลองมงคลสมรสหมู่ และงานจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง และพิธีแต่งงานแบบชาวกูย หรือพิธีซัตเต
จำนวนผู้ชม 767 ครั้ง

๑๓
ก.พ. ๖๕
๑๔
ก.พ. ๖๕

๑๓
ก.พ. ๖๕
๑๔
ก.พ. ๖๕

๑๓
ก.พ. ๖๕
๑๔
ก.พ. ๖๕

๑๓
ก.พ. ๖๕
๑๔
ก.พ. ๖๕

๑๓
ก.พ. ๖๕
๑๔
ก.พ. ๖๕





พิธีแต่งงาน แบบชาวกูย หรือ“พิธีซัตเต” เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยโบราณจะเริ่มเมื่อคู่หนุ่มสาวชาวกูยตกลงแต่งงานกัน เจ้าบ่าวมาสู่ขอเจ้าสาวจากผู้ใหญ่ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเริ่มสร้างกระท่อมเพื่อประกอบพิธีในบริเวณลานบ้านเจ้าสาวด้วยตนเองจนเสร็จและในวันแต่งงาน เจ้าบ่าว เจ้าสาว จะสวมชุดชาวกูยพื้นเมือง เจ้าบ่าวจะเดินทาง (ถ้ามีช้างจะนั่งช้าง) จากบ้านตนเองไปบ้านเจ้าสาว จากนั้นพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีจะพาเจ้าสาวลงมาจากบ้านไปยังกระท่อมเพื่อประกอบพิธีกรรม เริ่มด้วย เจ้าบ่าวจะสวมด้ายมงคล เจ้าสาวจะสวมจะลอม (มงกุฎที่ทำจากใบตาล) จะมะ (แก้ว แหวน สร้อย ต่างหู หรือเครื่องประดับที่เจ้าบ่าวนำมาให้) แล้วเริ่มตรวจนับสินสอดเครื่องประกอบต่างๆ จากนั้นพราหมณ์จะเริ่มพิธีบายศรีสู่ขวัญตามแบบชาวกูย พิธีถอดกระดูกคางไก่เสี่ยงทายชีวิตคู่ แล้วผูกข้อมือโดยมีญาติผู้ใหญ่และเพื่อนๆ ร่วมอวยพรให้คู่บ่าวสาวตามลำดับ สุดท้ายเจ้าบ่าวเจ้าสาว นั่งช้างเดินทางไปยังวังทะลุ บริเวณที่ลำน้ำมูลและ ลำน้ำชีไหลมาบรรจบกัน เพื่อบอกกล่าวศาลปู่-ตา ให้รับทราบถึงการครองคู่สามีภรรยา จึงถือเป็นการเสร็จสิ้นพิธี
แหล่งอ้างอิง:
