


ปฎิทินวัฒนธรรม
งานประเพณีบวชนาคช้าง
จำนวนผู้ชม 668 ครั้ง

๑๓
พ.ค. ๖๕
๑๕
พ.ค. ๖๕

๑๓
พ.ค. ๖๕
๑๕
พ.ค. ๖๕

๑๓
พ.ค. ๖๕
๑๕
พ.ค. ๖๕

๑๓
พ.ค. ๖๕
๑๕
พ.ค. ๖๕




“ประเพณีบวชนาคช้าง” นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีเอกลักษณ์ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ประเพณีบวชนาคช้างนั้นเป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวกูย หรือ ชาวกวย ซึ่งเป็นชาวบ้านที่มีวิถีชีวิตระหว่างคนกับช้าง ที่ได้สืบทอดวิถีชีวิตจากบรรพบุรุษมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี และที่บ้านตากลางแห่งนี้ก็เป็นที่รู้จักของผู้คนในชื่อ “หมู่บ้านช้าง” การบวชนาคช้างนั้นไม่ได้เป็นการนำช้างมาบวช แต่เป็นการบวชของผู้ชายในหมู่บ้าน เพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ และเข้าไปศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา โดยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการมีช้างเข้ามาร่วมในพิธีปฏิบัติด้วย ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาวกูย ที่มีความเกี่ยวข้องกับช้างมาตั้งแต่โบราณ อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการดำเนินพิธีที่แตกต่าง ซึ่งสามารถเห็นได้แค่ที่บ้านตากลางแห่งเดียวเท่านั้น ประเพณีบวชนาคช้างจะถูกจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 13-15 ค่ำเดือน 6 ของทุกๆ ปี เมื่อหนุ่มชาวกูยทุกๆ คนที่ออกไปทำงานต่างถิ่นต่างแดนได้มีอายุครบบวช ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ต้องเดินทางกลับมาบ้านเกิดเพื่อเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพราะตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวกูยแล้ว หากลูกหลานคนใดต้องการจะบวชเพื่อทดแทนพระคุณพ่อแม่ ก็ต้องกลับมาบวชที่บ้านตากลางแห่งนี้เท่านั้น หากบวชที่อื่นก็ไม่ถือว่าการบวชนั้นสำเร็จ ประเพณีนี้จึงเป็นประเพณีสำคัญของทุกๆ คนในหมู่บ้าน เป็นพิธีอุปสมบทหมู่ที่งดงามอย่างมีเอกลักษณ์ ในวันแรกนั้นจะมีการทำพิธีปลงผมนาค หลังจากนั้นก็จะเป็นการทำพิธีทำขวัญ
แหล่งอ้างอิง:
